(0)
พระสามเหลี่ยม พิมพ์โพธิจักร หลวงปู่ฟัก วัดเขาน้อยสามผาน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เนื้อหินแม่น้ำโขง






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต





ชื่อพระเครื่อง พระสามเหลี่ยม พิมพ์โพธิจักร หลวงปู่ฟัก วัดเขาน้อยสามผาน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เนื้อหินแม่น้ำโขง
รายละเอียด พระครูสันติวีรญาณหรือหลวงปู่ฟัก วัดพิชัยพัฒนารามหรือวัดเขาน้อยสามผาน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เกิดเมื่อปี พ.ศ.2478 ที่ ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี วัยเด็กท่านได้รับการศึกษาตามฐานะเหมือนเด็กทั่วไป โยมสังข์บิดาของหลวงปู่ฟักมีความศรัทธาและผูกพันกับท่านพ่อลี วัดอโศการามเป็นอย่างมาก ในช่วงที่ท่านพ่อลี มาสร้างปฏิบัติธรรมที่เขาน้อย ซึ่งขณะนั้นยังไม่เป็นวัด (ก่อนที่ท่านพ่อลีจะไปสร้างวัดป่าคลองกุ้งในปี พ.ศ.2497) หากโยมสังข์ทราบว่าท่านพ่อลีมา ก็จะทิ้งงานทิ้งการที่ทำอยู่ไปต้อนรับทันที โดยโยมสังข์มักจะพาบุตรชาย มาคอยดูแลอุปัฏฐากท่านพ่อลีอยู่เป็นประจำ ตั้งแต่ตัวเล็กๆ เหตุนี้ทำให้ท่านรักเคารพและเลื่อมใสท่านพ่อลีและคุ้นเคยกับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร,พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญและพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน ฯลฯ ซึ่งมักจะปรีวิเวกและผลัดกันจาริกมาอยู่จำพรรษา ณ เขาน้อยแห่งนี้เรื่อยมา จนกระทั่งช่วงปี พ.ศ.2500 พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีร์เมธาจารย์หรือท่านพ่อลี ได้จัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษขึ้น ที่วัดอโศการาม โดนมีแผนจำดำเนินการ 4 ประการ คือ 1.สร้างพระ 1 ล้านองค์เพื่อแจกผู้มาร่วมงานและบรรจุลงเจดีย์ 2.สร้างพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย 3.อุปสมบทพระภิกษุ 80 รูป บรรพชาสามเณร 80 รูป บวชนุ่งขาวถือศีล 8 (อุบาสก) 80 คน อุบาสิกา 80 คน และ 4. สร้างพระเจดีย์ไว้เป็นที่ระลึก งานดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นงานใหญ่มากของพระสายวิปัสสนากรรมฐาน จึงมีพระป่าชื่อดังนำผู้เลื่อมใสศรัททธาหลั่งไหลมาร่วมสมทบจำนวนมาก เช่น พระอาจารย์สิงห์,พระอาจารย์ชอบ,พระอาจารย์หลุย,พระอาจารย์จันทร์,พระอาจารย์กงมา,พระอาจารย์สาม,พระอาจารย์สิม,พระอาจารย์มหาบัว,พระอาจารย์เจี๊ยะ,พระอาจารย์เฟื่อง,พระอาจารย์ถวิล,พระอาจารย์วัน,พระอาจารย์จวน,พระอาจารย์สิงห์ทอง,พระอาจารย์พุธ ฯลฯ ซึ่งในงานดังกล่าวนี้เอง โยมสังข์บิดาของหลวงปู่ฟักได้ขอร้องให้หลวงปู่ฟักซึ่งขณะนั้นอายุ 22 ปี ร่วมอุปสมบทด้วย ครั้งแรกท่านไม่อยากบวช แต่เมื่อพ่อแม่ปรารภอยากให้บวชประกอบกับความเลื่อมใสในองค์ท่านพ่อลี ท่านจึงยอมอุปสมบท โดยมีความตั้งใจว่าจะบวชเอาบุญให้พ่อให้แม่เพียงแค่ 7 วัน ปรากฏว่าในงานดังกล่าวมีชายหนุ่มร่วมอุปสมบทในงานนี้มากถึง 637 องค์จากที่ตั้งเป้าไว้เพียง 80 องค์ ซึ่งหลวงปู่ฟักเป็น 1 ในชายหนุ่มที่อุปสมบทในงานฉลองกึ่งพุทธกาล ณ วัดอโศการามนั้น มีการประกอบพิธีในอุทกสีมา หรือสีมากลางน้ำ วัดอโศการาม เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 โดยมีพระอาจารย์สีลา วัดป่าอิสระธรรม จ.สกลนคร เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังอุปสมบทแล้ว แม้หลวงปู่ฟักจะตั้งใจบวชให้ครบ 7 วัน แต่ปรากฏว่าบวชได้เพียงวันเดียวท่านก็เกิดทุกข์ใจจนอยากจะสึกเสียแล้ว ทุกข์นั้นเกิดจากบาตรของท่านซึ่งได้รับจากพระอุปัชฌาย์อันตรธานหายไปทั้งๆที่ท่านเขียนชื่อติดไว้ทั้งที่บาตรและฝาบาตรจนท่านต้องฉันโดยใช้กะละมังเป็นภาชนะบรรจุอาหารแทนบาตรตั้งแต่วันแรก แถมมีพระรูปหนึ่งพูดให้ได้ยินว่า “บาตรและบริขารที่อุปัชฌาย์มอบให้นั้น ถ้าหากหายไปย่อมไม่เป็นมงคล จะอดจะอยาก” อีกด้วย แต่ความคิดที่จะสึกมีอันล้มพับไปเมื่อโยมพ่อพูดขึ้นว่า “ถ้าท่านหนูสึก ผมเสียใจ” (โยมบิดามารดาเรียกท่านว่า ท่านหนู) เมื่อท่านได้ยินโยมบิดาพูดแล้ว ทำให้นึกถึงพระคุณและความหวังดีของท่าน หลวงปู่จึงล้มเลิกความคิดที่จะสึกเสียตั้งแต่วันแรกนั้นไป อีกทั้ง โยมพ่อได้พาหลวงปู่ฟักไปกราบพระอาจารย์มหาบัว ซึ่งรู้จักคุ้นเคยกัน ซึ่งพระอาจารย์มหาบัวได้เทศน์เพื่อขจัดเงาในใจให้มลายไป โดยมีความตอนหนึ่งว่า “แค่บาตร บริขารหาย สามารถซื้อหาใหม่ได้ แต่การที่พระจะสึกอะไรสำคัญกว่ากัน บาตรหายก็ให้คิดเสียว่า ทำทานบารมีเพิ่ม” หลังฟังเทศนากัณฑ์นั้นแล้ว หลวงปู่ฟักก็ไม่ได้หันหลังกลับมาสู่ทางโลกอีกเลย ท่านบวชและปฏิบัติธรรมอยู่กับท่านพ่อลี ทั้งที่วัดอโศการาม วัดป่าคลองกุ้งและวัดเขาน้อย จนกระทั่งท่านพ่อลีมรณภาพ เมื่อปี พ.ศ.2504 ท่านจึงเดินทางไปจำพรรษาและปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงตามหาบัวที่วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี โดยได้อุปปัฎฐากรับใช้หลวงตาพระมหาบัว อย่างใกล้ชิด ต่อมา โยมบิดามารดาของท่านเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคชรา ท่านต้องเดินทางไปๆมาๆระหว่าง จ.อุดรธานีและ จ.จันทบุรี จนปี พ.ศ.2510 หลวงปู่ฟักจึงกลับมาจำพรรษาที่ จ.จันทบุรีอย่างถาวร เพื่อดูแลบิดามารดา จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเขาน้อยสามผาน ซึ่งท่านก็ได้พัฒนาวัดในด้านต่างๆโดยมีหลวงตามหาบัวให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ จนวัดเขาน้อยสามผาน มีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นวัดที่สมบูรณ์มาจนทุกวันนี้ ซึ่งแต่ละปีมีผู้เลื่อมใสศรัทธามาปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก กระทั่งปี พ.ศ.2540 เกิดภาวะฟองสบู่แตกเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วประเทศ หลวงตาพระมหาบัวได้จัดโครงการผ้าป่าช่วยชาติ ซึ่งหลวงปู่ฟักก็ได้เป็นกำลังสำคัญในโครงการดังกล่าวของภาคตะวันออก โดยจัดโครงการผ้าป่าช่วยชาติ ของหลวงตามหาบัว ขึ้น ณ วัดพิชัยพัฒนารามหรือวัดเขาน้อยสามผาน ในปี พ.ศ.2541 ถึง 5 ครั้ง โดยรวบรวมทองคำและเงินเข้าร่วมโครงการดังกล่าวคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 103 ล้าบาทเศษ นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาท่านยังได้ส่งเสริมและพัฒนาให้ความช่วยเหลือชาวบ้าน หน่วยงานราชการต่างๆ จำนวนมาก เช่น สร้างโรงพยาบาลสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี บริจาคเครื่องมือแพทย์ให้กับโรงพยาบาลต่างๆที่ขาดแคลน เป็นต้น หลวงปู่ฟัก เป็นพระสมถะผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาและที่พึ่งของชาวบ้านแบบกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ เป็นกำลังสำคัญในการสืบทอดพระศาสนาจนวาระสุดท้าย หลวงปู่ฟัก ได้มรณภาพ ด้วยภาวะเส้นเลือดใหญ่แตก เมื่อปี พ.ศ. 2553 สิริรวมอายุได้ 74 ปี 7 เดือน 29 วัน 53 พรรษา


หลวงปู่ฟัก เป็นพระป่าสายวิปัสสนากรรมฐาน ยึดมั่นในพระรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาพระพุทธเจ้าและเน้นปฏิบัติธรรมรักษาศีล ท่านจึงไม่ได้สร้างวัตถุมงคลบ่อยนัก จะสร้างเฉพาะในโอกาสสำคัญๆเพื่อแจกให้ญาติโยมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าวัตถุมงคลที่ท่านสร้างได้เกิดประสบการณ์ต่างๆมากมาย เป็นที่แหนหวงและเสาะหาของบรรดาผู้เลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก เช่น พระสมเด็จนาคปรก พระผงรูปเหมือน พระยอดธง พระกริ่ง พระแก้วมรกต พระหิน พระหยก เป็นต้น ทุกรุ่นทุกแบบมีประสยการณ์เป็นที่ประจักษ์


สำหรับ วัตถุมงคลที่นำมาประมูลวันนี้ ถือเป็นสุดยอดวัตถุมงคลของท่านอย่างหนึ่ง คือ พระสามเหลี่ยม พิมพ์โพธิจักร เนื้อหินแม่น้ำโขง ซึ่งที่มาของพระรุ่นนี้ว่ากันว่า วันหนึ่งขณะหลวงปู่ฟัก นั่งสมาธิภาวนาอยู่ ได้ปรากฏพญานาคขึ้นมาในนิมิตบอกหลวงปู่ว่า มีหินเขียวจะถวาย เป็นหินที่เป็นของหลวงปู่และพวกเขาเหล่าพญานาคได้ดูแลอยู่ ให้หลวงปู่ไปเอาหินซึ่งอยู่ที่แม่น้ำโขง เขต อ.เชียงของ จ.เชียงราย หลวงปู่จึงสอบถามไปยังกลุ่มหาหินและช่างแกะพระที่ จ.เชียงราย ก็ไม่มีใครเคยเห็นหินขนาดใหญ่อย่างที่หลวงปู่บอก หลวงปู่จึงขึ้นไป อ.เชียงของด้วยตนเอง โดยมีกลุ่มช่างแกะหิน ขับเรือพาหลวงปู่หาสถานที่ตามนิมิต ก็พบหินเขียวก้อนใหญ่มหิมาตามนิมิตทุกประการ ทั้งที่กลุ่มช่างแกะหินก็เคยมาหาหินในบริเวณนี้หลายครั้ง แต่ก็ไม่เคยพบหินก้อนมหึมาก้อนนี้เลย หลังจากได้หินมาแล้ว หลวงปู่จึงให้ช่างแกะสลักหินเป็นพระ 7 องค์ คือ 1. พระนาคปรก 2. หลวงพ่อพุทธองค์ดำ 3.หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และ 4. หลวงปู่มั่น ภูริฑัตโต 5. ท่านพ่อกงมา จิรปุญโญ 6. ท่านพ่อลี ธัมมธโร และ 7. หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน โดยรูปเหมือนครูบาอาจารย์ทั้ง 5 องค์เป็นขนาดเท่าองค์จริง ส่วนเศษหินที่เหลือจากการที่ช่างแกะพระตัดแต่งออกมาจากพระองค์ใหญ่ซึ่งถือเป็นของมงคลมาก หลวงปู่ได้ให้ช่างแกะเป็นพระพุทธรูปบูชาขนาด 9 นิ้วบ้าง 7 นิ้วบ้าง 5 นิ้วบ้าง 3 นิ้วบ้างตามแต่ขนาดของหินที่ช่างตัดออกมา ส่วนเศษหินขนาดเล็ก หลวงปู่ได้ให้ช่างแกะเป็นพระเครื่อง เช่น พระสมเด็จ,พระยอดธง,พระกริ่ง และพระสามเหลี่ยมพิมพ์โพธิจักร ซึ่งมีลักษณะเหมือนพระของท่านพ่อลี ซึ่งสร้างในงานกึ่งพุทธกาล ปี พ.ศ.2500 ตามแต่รูปทรงของหินที่ช่างแกะสลักได้แกะเป็นพระพิมพ์ต่างๆจนหมดจำนวนไม่มากนัก พระหินแกะดังกล่าว หลวงปู่จะเรียกว่าพระหยกหรือพระหิน ซึ่งมีผู้รู้บอกว่าหินเขียวชนิดนี้ ถ้าอายุถึงและปล่อยไว้นานๆจะกลายเป็นหินหยก เพราะเป็นหินตระกูลเดียวกัน หลวงปู่จะมอบให้เฉพาะคนที่ขอเท่านั้น ซึ่งท่านมักจะย้ำให้นำไปแขวนบูชา เพราะเป็นของที่มีพญานาครักษาทุกองค์ มีพุทธคุณด้านค้ำคูณที่จะช่วยค้ำชูอุดหนุนดวงชะตา โดยแนะนำให้เอาพระหินหยกวางไว้ใจกลางฝ่ามือ แล้วพนมมือตั้งนะโม 3 จบ สวดไตรสรณคมน์ ว่า “พุทธังสรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ” และอธิษฐานขอพรตามประสงค์ ซึ่งพระหินแม่น้ำโขงดังกล่าวมีพุทธคุณและประสบการณ์ด้านต่างๆพอสรุปได้ 3 ประการ คือ 1. แคล้วคลาด 2.โภคทรัพย์ และ 3.รักษาโรค องค์นี้สภาพสวยเลี่ยมรักษาผิวไว้ตั้งแต่ต้น แกะได้สวยงามคมชัดทุกเส้นสาย ไม่แตกไม่บิ่น ขนาดกว้างเฉพาะองค์พระประมาณ 3.5 ซม. สูงประมาณ 5 ซม. ตัดไปเบาๆเคาะเดียวขั้นต่ำ
ราคาเปิดประมูล 1,100 บาท
ราคาปัจจุบัน -- ยังไม่มีผู้เสนอราคา -- (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ 100 บาท
วันเปิดประมูล อ. - 30 เม.ย. 2567 - 18:39:32 น.
วันปิดประมูล ศ. - 10 พ.ค. 2567 - 18:39:32 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูล kasemchonburi (3K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     1,100 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 
-- ยังไม่มีผู้เสนอราคา --


Copyright ©G-PRA.COM