(0)
*-*เหรียญหลังเต่า หลวงพ่อปาน วัดมงคลโคธาวาส(บางเหี้ย) รุ่นอนามัยบางบ่อ ปี2506 พิมพ์นิยม*-*








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต





ชื่อพระเครื่อง *-*เหรียญหลังเต่า หลวงพ่อปาน วัดมงคลโคธาวาส(บางเหี้ย) รุ่นอนามัยบางบ่อ ปี2506 พิมพ์นิยม*-*
รายละเอียด เหรียญหลังเต่า หลวงพ่อปาน วัดมงคลโคธาวาส(บางเหี้ย) รุ่นอนามัยบางบ่อ ปี2506 พิมพ์นิยม"หลังมีรอยตีนตะขาบที่บริเวณด้านล่างซ้ายของเหรียญ เนื้อทองแดงกะไล่ทองสวยเดิมๆ สภาพสวยผิวเดิมๆ องค์จริงตามรูป

***รับประกันตามกฎทุกประการ.***

งานนมัสการและปิดทองหลวงพ่อปานที่จัดกัน ณ ที่ว่าการอำเภอบางบ่อนั้น ได้เริ่มจัดกันมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2486 จากความคิดของชาวบ้านที่เห็นว่าการที่ประชาชนจะไปปิดทองหลวงพ่อที่วัดนั้นไม่ค่อยสะดวก เนื่องจากการเดินทางในสมัยก่อนนั้นไปได้ทางเดียวคือทางเรือ เมื่อเห็นว่าหากมาจัดงานที่บริเวณที่ว่าการอำเภอน่าจะสะดวกกว่าเพราะเป็นศูนย์กลางของทุกตำบล ชาวบ้านจึงได้ติดต่อขอยืมรูปหล่อหลวงพ่อจากวัดมงคลโคธาวาสหลังจากที่ทางวัดจัดงานประจำปีเสร็จแล้วไปจัดงานประจำปีของอำเภอต่อจากทางวัด ในวันขึ้น 5-7 ค่ำ เดือน 12 ของทุกๆ ปี

ในงานทางอำเภอจะจัดตกแต่งเรือบรรทุกข้าวด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อยไปรับรูปเหมือนหลวงพ่อปานจากวัดมงคลโคธาวาส โดยใช้เรือพายลากจูงเรือหลวงพ่อมาจัดงานฉลองกัน ณ บริเวณที่ว่าการอำเภอบางบ่อ ส่วนเรือที่ลากจูงมาก็จะจัดแข่งขันกันเพื่อความสนุกสนานของงานโดยมีรางวัลมอบให้ด้วย

ในปี พ.ศ. 2504 ทางอำเภอได้งดการจัดงานปิดทองหลวงพ่อปานลง เนื่องจากพร้อมใจกันเตรียมการถวายการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเสด็จมาทอดพระกฐินต้นที่วัดบางพลีใหญ่ใน(วัดหลวงพ่อโต) และมีหมายกำหนดการเสด็จมาเยี่ยมราษฎรชาวอำเภอบางบ่อด้วย อันเป็นระยะเวลาใกล้งานประจำปีพอดี (ประชาชนชาวบางบ่อถือเป็นศุภนิมิตรที่ดียิ่งเนื่องจากนับเป็นครั้งแรกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมายังอำเภอบางบ่อ)[ต้องการอ้างอิง]

ในปี พ.ศ. 2505 เกิดความขัดข้องเนื่องจากความไม่เข้าใจกันบางประการในเรื่องของผลประโยชน์ในการจัดงานปิดทองหลวงพ่อปาน ทางวัดมงคลโคธาวาสจึงไม่ให้ยืมรูปเหมือนของหลวงพ่อมาจัดงานที่อำเภออีก เมื่อไม่มีรูปหล่อของหลวงพ่อจึงจำเป็นต้องงดการจัดงานไปอีก 1 ปี

จวบจนในปี พ.ศ. 2506 ประชาชนเริ่มอึดอัดที่ต้องงดการจัดงานมาแล้วถึง 2 ปี จึงได้พร้อมใจกันสร้างรูปหล่อหลวงพ่อปานขึ้นอีกองค์หนึ่งเพื่อจัดงานประจำปีของอำเภอบางบ่อ โดยมีผู้ริเริ่มคือ พ.ต.ท.บุญศรี จันทนชาติ อดีตนายอำเภอบางบ่อ นายวุฒิศาล ศุภพิพัฒน์(บิดากำนันวิรุฬ ศุภพิพัฒน์) และนายแพทย์นุภาพ พงษ์พูนสิน อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางบ่อ

ในความตั้งใจของผู้ริเริ่มนั้น นอกจากจะหล่อรูปหลวงพ่อปานขึ้นไว้จัดงานประจำปีแล้ว ยังมีความคิดว่าถ้านำหลวงพ่อมาประดิษฐ์ฐานไว้ที่สถานีอนามัยชั้น 1 อำเภอบางบ่อ(ปัจจุบันคือโรงพยาบาลบางบ่อ) ก็คงจะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ผู้ป่วยได้สักการบูชาระหว่างที่ต้องพักรักษาตัวได้อีกทางหนึ่งด้วย

สำหรับทองที่นำมาหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อปานองค์ใหม่นี้ ก็ได้จากศรัทธาของประชาชนชาวอำเภอบางบ่อและใกล้เคียง โดยให้ นายฟุ้ง อ้นเจริญ เจ้าหน้าที่สำนักงานไตรสรณาคม บ้านเลขที่ 322/2 ตรอกวัดวิเศษการ ซึ่งเป็นนายช่างฝีมือดี เป็นผู้ปั้นปูนรูปหุ่นองค์หลวงพ่อเพื่อนำมาใช้เป็นแม่แบบเททองในวันงาน ซึ่งในระหว่างการหล่อรูปหลวงพ่อนี้ก็มีสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย อาทิ

ในฤกษ์เททอง เวลา 10.00 น. วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2506 นั้น ก่อนถึงเวลาแดดร้อนจัดจนผู้อยู่ในบริเวณงานเหงื่อโทรมกาย แต่ครั้นเมื่อถึงเวลาฤกษ์เททองก็เกิดพระอาทิตย์ทรงกลด แสงแดดอ่อนตัวลงอยู่จนเททองเสร็จ จนผู้มาร่วมงานต่างก็อื้ออึงกันถึงบารมีของหลวงพ่อ
ในฤกษ์ถอดแบบ เวลา 15.00 น. วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2506 นั้น อากาศอบอ้าวและร้อนจัดมากจนช่างหล่อคนหนึ่งซึ่งกำลังกะเทาะแบบเพื่อจะถอดแบบพูดขึ้นมาดังๆ ว่า "หลวงพ่อ ถ้าหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์จริง ขอลมขอฝนหน่อย ลูกๆ จะได้เย็น" ไม่นานจากนั้นก็เกิดลมพายุทั้งฝนทั้งฟ้าคนองจน โรงลิเก โรงงิ้ว เวทีรำวง เวทีมวยพังราบไปหมด ชาวบ้านต้องวิ่งเก็บเสื้อผ้าข้าวของที่ปลิวว่อนกันอลหม่าน ทำเอาช่างที่เอ่ยขอลมขอฝนถึงกับตัวสั่นต้องนั่งประนมมือขอขมาอภัยเป็นการใหญ่ หัวหน้าช่างถึงกับประกาศไล่ช่างคนที่พูดว่า "มึงเก็บข้าวของกลับบ้านไปเลย หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์อย่างนี้ มึงพูดเล่นได้อย่างไร"
ในการทำพิธีเบิกเนตร โดยพระครูวามเทพมุณีพราหมณ์ใหญ่แห่งประเทศไทย ตอนตี 5 วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2506 ก็เหตุมหัศจรรย์ขึ้นเช่นกัน ทั้งที่เป็นฤดูร้อนแต่วันนั้นกลับเกิดหมอกลงจัด อากาศก็หนาวเย็นเยือกจนตัวสั่น จนโกเอ็ก(คุณสุวิทย์ เข่งเฮง พ่อคุณสมศักดิ์ เข่งเฮง อดีตนายกเทศมนตรีอำเภอบางบ่อ) ถึงกับต้องเอาผ้าผืนใหญ่มาคลุมตัวไว้[ต้องการอ้างอิง]
เมื่อหล่อรูปหลวงพ่อปานเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ได้อาราธนาหลวงพ่อไปประดิษฐานไว้ในห้องจ่ายบัตรของสถานอนามัยชั้น 1 อำเภอบางบ่อ(โรงพยาบาลบางบ่อ) จนคืนหนึ่งในปี พ.ศ. 2508 นายแพทย์อนุภาพ พงษ์พูนสิน ได้ฝันเห็นหลวงพ่อปานกำลังเดินลงจากสถานีอนามัย จึงวิ่งเข้าไปนมัสการหลวงพ่อว่าหลวงพ่อกำลังจะไปไหน ท่านก็บอกว่าอยู่ไม่ไหวในห้องมันร้อนเหลือเกิน หมอจึงอ้อนวอนให้ท่านกลับไปอยู่ที่อนามัยก่อนแล้วจะสร้างมณฑปให้ท่านอยู่องค์เดียว หลวงพ่อจึงบอกว่าเมื่อหมอขอร้องก็จะอยู่ที่อนามัยกับหมอ

รุ่งเช้านายแพทย์อนุภาพจึงได้เล่าความฝันให้ผู้ใกล้ชิดทราบและได้ขอรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาเพื่อสร้างมณฑปให้หลวงพ่อปาน โดยสร้างเป็นมณฑปไม้ไว้ด้านหน้าสถานีอนามัยริมคลองสำโรง ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2508 ก่อนจะได้อาราธนาหลวงพ่อขึ้นประดิษฐานมาจนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบันมณฑปที่ประดิษฐานตั้งอยู่ทางเข้าหน้าโรงพยาบาลบางบ่อริมถนนเทพารักษ์ โดยมีการปรับปรุงซ่อมแซมหลายครั้งเพื่อให้สง่างามสมกับที่เป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวอำเภอบางบ่อและใกล้เคียง
ใบเซียมซีหลวงพ่อปาน

ผู้แต่งใบเซียมซีคือ "ผู้ช่วยศาสตราจารย์สนองชาติ เศรษฐศิโรตม์" มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี ขณะแต่งท่านยังเป็นครูอยู่โรงเรียนชุมชนบางบ่อ สมัยอาจารย์เดช ศิริพัลลภ เป็นครูใหญ่ เวลานั้น ผศ.สนองชาติ ยังเป็นครูน้อยแต่งกลอนยังไม่สันทัดนัก เมื่อได้รับมอบหมายก็ไปจุดธูปบอกหลวงพ่อปานให้ช่วยดลใจ โดยใช้เวลาเพียง 4-5 วัน ก็แต่งเสร็จเรียบร้อย ซึ่งความแม่นยำเป็นก็ที่กล่าวขานไปทั่ว

***ขอบพระคุณข้อมูลจากจากเวปวิกิพิเดีย***
ราคาเปิดประมูล 100 บาท
ราคาปัจจุบัน 2,200 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ 100 บาท
วันเปิดประมูล ส. - 27 เม.ย. 2567 - 09:30:43 น.
วันปิดประมูล อ. - 07 พ.ค. 2567 - 09:30:43 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูล terasak99 (6K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     2,200 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 ผู้เสนอราคาราคาเวลา
  เซียน99 (642) 200 บาท ส. - 27 เม.ย. 2567 - 10:24:31 น.
  เซียน99 (642) 500 บาท ส. - 27 เม.ย. 2567 - 10:24:46 น.
  theera (2.6K) 1,100 บาท ส. - 27 เม.ย. 2567 - 10:28:13 น.
  leymwitt (651) 2,000 บาท ส. - 27 เม.ย. 2567 - 13:43:36 น.
  extreme (255) 2,200 บาท พ. - 01 พ.ค. 2567 - 01:42:22 น.

Copyright ©G-PRA.COM